จากหลักฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และการศึกษาทางคลินิกพบว่า สารสกัดจากธรรมชาติทั้ง 7 ชนิด มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย
1. อิชิเนเชีย (Echinacea)
อิชิเนเชียเป็นสมุนไพรที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน โดยอ้างอิงจากตำราสมุนไพรเกี่ยวกับฤทธิ์ลดอาการอักเสบ พบว่าอิชิเนเชียมีผลช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีส่วนช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยลดความเสี่ยงของการติดหวัดและลดความเสี่ยงการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน1
2. โพรโพลิส (Propolis)
โพรโพลิสเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ได้มาจากยางของเปลือกไม้ที่ผึ้งงานได้รวบรวมเอาไว้ และนำมาผสมกับไขผึ้ง โพรโพลิส มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยบรรเทาการติดเชื้อในช่องปากได้ดี2
3. เมนทอล (Menthol)
เมนทอลเป็นสารประกอบจากธรรมชาติที่ได้จากพืชตระกูลเมนทา (Mentha) ซึ่งให้กลิ่นและรสมิ้นท์ เมนทอลถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน นอกเหนือจากประโยชน์ทางการแพทย์ เมนทอลยังให้ความรู้สึกเย็น ช่วยระงับกลิ่นปาก และทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น3
4. ทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil)
ทีทรีออยล์มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อโรค จึงสามารถยับยั้งเชื้อโรคในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีทรีออยล์มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องด้วยความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคในช่องปากและฤทธิ์ลดการอักเสบ4 จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า ทีทรีออยล์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 27 สายพันธุ์ เชื้อรา 24 สายพันธุ์ รวมถึงเชื้อไวรัส และโปรโตซัว7
5. ไทม์ออยล์ (Thyme oil)
ไทม์ออยล์พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ5
6. เปปเปอร์มิ้นท์ออยล์ (Peppermint oil)
เปปเปอร์มิ้นท์ออยล์ เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ประกอบด้วยเมนทอลสูงถึง 50% พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก6
7. ยูคาลิปตัสออยล์ (Eucalyptus Oil)
ยูคาลิปตัสออยล์ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์สำคัญคือ 1,8 ชินิออล (1,8-cineole) โดยมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา นอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยูคาลิปตัสออยล์ยังมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ในการลดปวด7
Reference:
1.EMA/HMPC/557969/2013 Committee on Herbal Medicinal Products (HMPC). Assessment report on Echinacea purpurea (L.) Moench., herba recens EMA/HMPC/557979/2013. 24 November 2014
2.Wagh VD. Advances in Pharmacological Sciences 2013, Article ID 308249, 11 pages
3.Eccles R. J. Pharm. Pharmacol. 1994,46: 618-630
4. Carson CF, et al. Clinical Microbiology Reviews 2006;19(1):50-62
5.Evans WC, et al. Trease and Evans’ Pharmacognosy (Sixteenth Edition),2009
6.Shrivastava A. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research 2009;2(2):187
7.Sadlon AE, et al. Altern Med Rev 2010;15(1):33-47